- ชายหาดนราทัศน์

ชายหาดนราทัศน์ชายหาดนราทัศน์
เป็นหาดทรายขาวสะอาดยาวประมาณ 5 กิโลเมตร ไปสิ้นสุดที่ปลายแหลมด้านปากแม่น้ำบางนราซึ่งใช้เป็นสถานที่จัดการแข่งขันเรือกอและที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีด้วย แนวสนทำให้บรรยากาศริมทะเลร่มรื่นมากขึ้น ชาวบ้านนิยมมาพักผ่อนหย่อนใจกันที่นี่ ใกล้ๆ กันมีหมู่บ้านชาวประมงตั้งกระจัดกระจายตามริมแม่น้ำบางนรา และบริเวณเวิ้งอ่าวมีเรือกอและของชาวประมงจอดยู่มากมาย อยู่เลยจากตัวเมืองนราธิวาสไปตามถนนสายพิชิตบำรุง ประมาณ 1 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวสามารถใช้บริการรถจักรยานยนต์ รถสามล้อถีบหรือรถสองแถวเล็กจากตัวเมืองนราธิวาสไปยังหาดนราทัศน์ได้สะดวก

สถานที่ตั้ง
ชัยทะเล, เมืองนราธิวาสนราธิวาส

- น้ำตกละอองรุ้ง

น้ำตกละอองรุ้งน้ำตกละอองรุ้ง
น้ำตกเกิดจากสายน้ำที่ไหลแรงจากยอดเขาตกกระทบก้อนหินเบื้องล่างเกิดเป็นละอองน้ำฟุ้งกระจายชุ่มชื้นไปทั่วบริเวณ จะดูสวยงามมากยามต้องแสงแดดและเกิดเป็นรุ้งสีสวยอันเป็นที่มาของชื่อน้ำตกแห่งนี้

สถานที่ตั้ง
อยู่ระหว่างเขตติดต่ออำเภอธารโตและอำเภอเบตง

- อุโมงค์เบตงมงคลฤทธิ์

อุโมงค์เบตงมงคลฤทธิ์อุโมงค์เบตงมงคลฤทธิ์
เป็นอุโมงค์รถยนต์ลอดภูเขาแห่งแรกของประเทศไทย สร้างขึ้นเพื่อรองรับปัญหาการจารจร และการขนส่งระหว่างชุมชนเมืองในปัจจุบัน กับชุมชนเมืองใหม่ บริเวณถนนอัยเยอร์เบอร์จัง ก่อสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก มีความยาว 273 เมตร กว้าง 9 เมตร สูง 7 เมตร ผิวการจารจรคู่กว้าง 7 เมตร รถวิ่งได้ด้วยความเร็ว 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีทางเดินเท้าข้างละ 1 เมตร มีรางระบายน้ำทั้งสองข้างถนน มีการติดตั้งไฟฟ้าให้แสงสว่างตลอดตัวอุโมงค์เพื่อความปลอดภัย

สถานที่ตั้ง
อยู่ ณ บริเวณถนนอมรฤทธิ์ตัดกับถนนภักดีดำรงค์

 

- มัสยิดกรือเซะ

มัสยิดกรือเซะมัสยิดกรือเซะ
ลักษณะการก่อสร้างมัสยิดแห่งนี้เป็นแบบเสากลมก่ออิฐปูนแบบศิลปะทางตะวันออกกลาง ส่วนที่สำคัญที่สุดคือหลังคาโดมซึ่งยังสร้างไม่แล้วเสร็จมัสยิดเก่าแห่งนี้มีตำนานเล่าว่าเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวสาปแช่งไว้ไม่ให้สร้างเสร็จ บริเวณใกล้เคียงนั้นมีฮวงซุ้ยหรือที่ฝังศพเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวมัสยิดแห่งนี้สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ.2121–2136)

สถานที่ตั้ง
อยู่ริมถนนสายปัตตานี-นราธิวาสหรือทางหลวงแผ่นดินสาย 42

- มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี

มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานีมัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี
เพื่อให้เป็นศูนย์กลางในการประกอบ ศาสนกิจของชาวไทยมุสลิมในภาคใต้ เป็นสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกมีรูปทรงคล้ายกับทัชมาฮาลของอินเดีย ตรงกลางอาคารมียอดโดมขนาดใหญ่และมีโดมบริวาร 4 ทิศ มีหอคอยอยู่สองข้าง บริเวณด้านหน้ามัสยิดมีสระน้ำสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ ภายในมัสยิดมีลักษณะเป็นห้องโถง มีระเบียงสองข้างภายในห้องโถงด้านในมีบัลลังก์ทรงสูงและแคบ

สถานที่ตั้ง
อยู่ที่ถนนยะรัง เส้นทางยะรัง-ปัตตานี ในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี

- ถ้ำเจ็ดคด

ถ้ำเจ็ดคด จ.สตูลถ้ำเจ็ดคด
ลักษณะถ้ำคดเคี้ยวและทะลุผ่านภูเขา มีลำธารไหลผ่านภายในถ้ำ  สามารถล่องเรือชมหินย้อย และธรรมชาติภายในถ้ำได้ตลอดระยะทาง  อีกทั้งมีหาดทรายขาวระยิบระยับภายในถ้ำบริเวณมุมที่คดเคี้ยว คล้ายกับเพชรที่โปรยไว้  บริเวณหาดทรายสามารถกางเต็นท์ได้ มีลมพัดเบาๆ และอากาศเย็นสบาย ไม่อับชื้น

สถานที่ตั้ง
อยู่หมู่ ๕ ตำบลปาล์มพัฒนา

- เกาะหลีเป๊ะ

เกาะหลีเป๊ะเกาะหลีเป๊ะ
ความเป็นธรรมชาติของปะการังรอบเกาะ มีเวิ้งอ่าวที่สวยงาม หาดทรายละเอียดนิ่มเหมือนแป้ง มีอ่าวที่สวยงามชื่อ “อ่าวพัทยา”และ “หาดชาวเล” มีลักษณะโค้งเว้า ทรายขาวละเอียด ซึ่งทั้งสองหาดนี้สามารถเดินถึงกันได้โดยใช้เวลาประมาณ 15 นาที และยังมีบริการบ้านพักของเอกชนคอยบริการนักท่องเที่ยวอีกด้วย

- อุทยานแห่งชาติตะรุเตา

อุทยานแห่งชาติตะรุเตาอุทยานแห่งชาติตะรุเตา
นับเป็นเกาะใหญ่ที่สุดของอุทยาน มีพื้นที่ ๑๕๒ ตารางกิโลเมตร   สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาที่มีสภาพเป็นป่าดิบชื้นซึ่งยังมีพรรณไม้และสัตว์ป่าที่น่าสนใจจำนวนไม่น้อย  และมีพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นป่าชายเลน นอกจากนี้ยังมีอ่าวน้อยใหญ่ที่มีชายหาดสวยงามอยู่หลายแห่ง และในท้องทะเลของเกาะตะรุเตายังมีพันธุ์ปลามากมายหลายชนิดรวมทั้งเต่าทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์  ๔ ชนิด  คำว่า “ตะรุเตา” นี้  เพี้ยนมาจาก คำว่า “ตะโละเตรา” ในภาษามลายูแปลว่า มีอ่าวมาก

- อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตราอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
มีลักษณะคล้ายเรือสำเภา ครอบคลุมพื้นที่ชายหาดตลอดแนวฝั่งทะเลในท้องที่ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู ตำบลขอนคลาน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล และตำบลสุกร อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาลาดชันสูง มีพื้นที่ราบบริเวณหุบเขาและชายหาด มีพื้นที่ทั้งบนบกและทะเล ประมาณ ๔๙๔.๓๘ ตารางกิโลเมตร ได้ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๗ อุทยานฯ นี้มีป่าไม้ ภูเขา สัตว์ป่า ปะการังหลากสีสวยงาม ประกอบด้วยเกาะน้อยใหญ่ที่สำคัญต่างๆ คือ เกาะเภตรา เกาะลิดี เกาะบุโหลน เกาะเขาใหญ่ เกาะละโละแบนแต เกาะเหลาเหลียง และเกาะเปรามะ

- สะพานติณสูลานนท์

สะพานติณสูลานนท์สะพานติณสูลานนท์
โดยเป็นสะพานข้ามทะเลสาบสงขลาจากฝั่งบ้านน้ำกระจายผ่านเกาะยอ ไปฝั่งเขาเขียว เพื่ออำนวยความสะดวกในการคมนาคมให้มีความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้นโดยไม่ต้องรอข้ามแพขนานยนต์ บริเวณฝั่งหัวเขาแดง สะพานแบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงแรก เชื่อมระหว่างชายฝั่งอำเภอเมือง สงขลา บริเวณบ้านน้ำกระจาย กับชายฝั่งตอนใต้ของเกาะยอ ความยาวรวมเชิงสะพานทั้งสองด้าน ประมาณ 1,140 เมตร ช่วงที่ 2 เชื่อมระหว่างฝั่งด้านเหนือของเกาะยอกับฝั่งบ้านเขาเขียว ความยาวทั้งสิ้นประมาณ 1,800 เมตร สะพานนี้เริ่มก่อสร้างเมื่อ 26 มีนาคม 2527 และทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2529

สถานที่ตั้ง
อำเภอเมืองสงขลาจังหวัดสงขลา