- ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา

ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา

ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา
ตั้งขึ้นตามโครงการที่นักวิชาการไทยและนักวิชาการญี่ปุ่นปรับขยายมาจากข้อเสนอเดิมของสมาคมไทย-ญี่ปุ่นและจังหวัดพระนครศรีอยุธยาซึ่งเคยเสนอปรับปรุงบริเวณที่เคยเป็นหมู่บ้านญี่ปุ่นให้จัดสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์หมู่บ้านญี่ปุ่น มาเป็นการเสนอให้จัดตั้งเป็นศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยาซึ่งจะทำหน้าที่เป็นสถาบันวิจัยและพิพิธภัณฑสถานเกี่ยวกับราชอาณาจักรอยุธยา

สถานที่ตั้ง
อำเภอ พระนครศรีอยุธยา จังหวัด พระนครศรีอยุธยา

เวลาบริการ
เปิดทำการทุกวัน วันจันทร์-ศุกร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 09.00-16.30น. วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 09.00-17.00 น.

- วิหารพระมงคลบพิตร

วิหารพระมงคลบพิตร

วิหารพระมงคลบพิตร
เป็นพระพุทธรูปบุสัมฤทธิ์ปางมารวิชัย มีขนาดหน้าตักกว้าง 9.55 เมตร และสูง 12.45 เมตร นับเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่องค์หนึ่งในประเทศไทย ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างในสมัยใด สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นระหว่างปี พ.ศ. 1991–2145 สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมโปรดเกล้าฯให้ย้ายจากทิศตะวันออกนอกพระราชวังมาไว้ทางด้านทิศตะวันตกที่ประดิษฐานอยู่ในปัจจุบันและโปรดเกล้าฯให้ก่อมณฑปสวมไว้ ในสมัยสมเด็จพระเจ้าเสือ เมื่อปี พ.ศ. 2249 อสุนีบาตตกลงมาต้องยอดมณฑปพระมงคลบพิตรเกิดไฟไหม้ทำให้ส่วนบนขององค์พระมงคลบพิตรเสียหายจึงโปรดเกล้าฯให้ซ่อมแซมใหม่ แปลงหลังคายอดมณฑปเป็นมหาวิหารและต่อพระเศียรพระมงคลบพิตรในสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ (พ.ศ. 2285–2286) ในคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 พ.ศ. 2310 วิหารพระมงคลบพิตรถูกข้าศึกเผาเครื่องบนโทรมลงมาต้องพระเมาฬีและพระกรขวาของพระมงคลบพิตรหัก  รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้การปฏิสังขรณ์ใหม่ สำหรับบริเวณข้างวิหารพระมงคลบพิตรทางด้านทิศตะวันออกแต่เดิมเป็นสนามหลวง ใช้เป็นที่สำหรับสร้างพระเมรุพระบรมศพของพระมหากษัตริย์และเจ้านายเช่นเดียวกับท้องสนามหลวงของกรุงเทพฯ

สถานที่ตั้ง
อำเภอ พระนครศรีอยุธยา จังหวัด พระนครศรีอยุธยา

- วัดใหญ่ชัยมงคล

วัดใหญ่ชัยมงคล

วัดใหญ่ชัยมงคล
วัดนี้ตามข้อมูลประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าพระเจ้าอู่ทองทรงสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1900 สำหรับเป็นสำนักของพระสงฆ์ซึ่งไปบวชเรียนมาแต่สำนักพระวันรัต มหาเถรในประเทศลังกา คณะสงฆ์ที่ไปศึกษาพระธรรมวินัยเรียกนามนิกายในภาษาไทยว่า “คณะป่าแก้ว” วัดนี้จึงได้ชื่อว่า วัดคณะป่าแก้ว ต่อมาเรียกให้สั้นลงว่า “วัดป่าแก้ว”  ต่อมาคนเลื่อมใสบวชเรียนพระสงฆ์นิกายนี้  พระราชาธิบดีจึงตั้งอธิบดีสงฆ์นิกายนี้เป็นสมเด็จพระวันรัตน์มีตำแหน่งเป็นสังฆราชฝ่ายขวาคู่กับพระพุทธโฆษาจารย์เป็นอธิบดีสงฆ์ฝ่ายคันถธุระมีตำแหน่งเป็นสังฆราชฝ่ายซ้าย หลังจากนั้นได้เปลี่ยนชื่อเป็น“วัดเจ้าพระยาไทย” สันนิษฐานว่ามาจากที่สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ทรงสร้างวัดป่าแก้วขึ้น ณ บริเวณที่ซึ่งได้ถวายพระเพลิงพระศพของเจ้าแก้วเจ้าไทยหรืออาจมาจากการที่วัดนี้เป็นที่ประทับของพระสังฆราชฝ่ายขวา ซึ่งในสมัยโบราณเรียกพระสงฆ์ว่า “เจ้าไทย” ฉะนั้นเจ้าพระยาไทยจึงหมายถึงตำแหน่งพระสังฆราช ในปี พ.ศ. 2135 เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงทำศึกยุทธหัตถีชนะพระมหาอุปราชแห่งพม่าที่ตำบลหนองสาหร่าย เมืองสุพรรณบุรี  ทรงสร้างพระเจดีย์ใหญ่ขึ้นที่วัดนี้เป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะ การสร้างพระเจดีย์อาจสร้างเสริมพระเจดีย์เดิมที่มีอยู่หรืออาจสร้างใหม่ทั้งองค์ก็ได้ ไม่มีหลักฐานแน่นอน ขนานนามว่า “พระเจดีย์ชัยมงคล” แต่ราษฎรเรียกว่า “พระเจดีย์ใหญ่” ฉะนั้นนานวันเข้าวัดนี้จึงเรียกชื่อเป็น “วัดใหญ่ชัยมงคล” วัดนี้ร้างไปเมื่อคราวเสียกรุงครั้งสุดท้าย และเพิ่งจะตั้งขึ้นเป็นวัดที่มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษาเมื่อไม่นานมานี้ นอกจากนี้ยังมี วิหารพระพุทธไสยาสน์ สร้างในสมัยสมเด็จพระนเรศวร เพื่อเป็นที่ถวายสักการะบูชาและปฏิบัติพระกรรมฐาน   ปัจจุบันมีการสร้างพระตำหนักสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

สถานที่ตั้ง
อำเภอ พระนครศรีอยุธยา จังหวัด พระนครศรีอยุธยา

อัตราค่าเข้าชม
ต่างชาติ คนละ 20 บาท

 

- วัดหน้าพระเมรุ

วัดหน้าพระเมรุ

วัดหน้าพระเมรุ
สร้างในวัด สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น พุทธศักราช 2046 มีชื่อเดิมว่า “วัดพระเมรุราชิการาม” ที่ตั้งของวัดนี้เดิมคงเป็นสถานที่สำหรับสร้างพระเมรุถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระมหากษัตริย์พระองค์ใดพระองค์หนึ่งสมัยอยุธยาตอนต้นต่อมาจึงได้สร้างวัดขึ้น มีตำนานเล่าว่าพระองค์อินทร์ในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ทรงสร้างวัดนี้เมื่อ พ.ศ. 2046  วัดนี้มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิเมื่อครั้งทำศึกกับพระเจ้าบุเรงนองได้มีการทำสัญญาสงบศึกเมื่อ พ.ศ. 2106 ได้สร้างพลับพลาที่ประทับขึ้นระหว่างวัดหน้าพระเมรุกับวัดหัสดาวาส

สถานที่ตั้ง
ตั้งอยู่ที่อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

- วัดโลกยสุธา

วัดโลกยสุธา

วัดโลกยสุธา
วัดแห่งนี้อยู่ใกล้กับเขตพระราชวังโบราณและวัดพระศรีสรรเพชญ์ ด้วยเค้าโครงของสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ที่หลงเหลือในพระอารามร้างที่ถูกผลาญด้วยไฟแห่งสงครามนั้น แสดงให้เห็นถึงคุณค่าและความสำคัญของวัดโลกยสุธารามในอดีต เช่น ฐานรากที่เหลืออยู่ของพระวิหารขนาดใหญ่ถึง 9 ห้องที่ตั้งอยู่ตรงกลาง มีความยาวถึง 49.50 เมตร กว้าง 20.10 เมตร มีมุขยื่นออกมาทั้งสองด้าน พระประธานขนาดใหญ่ที่ชำรุดเสียหายเหลือเพียงฐานด้านหลังพระอุโบสถ ยังมีพระปรางค์องค์ใหญ่สูงถึง 30 เมตร และมีแนวกำแพงแก้วล้อมรอบเขตพุทธาวาสทั้งหมด สันนิษฐานว่าวัดแห่งนี้ได้สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระนครินทราธิราช พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 6 แห่งกรุงศรีอยุธยา ผู้ทรงเป็นพระราชบิดาเจ้าสามพระยา

สถานที่ตั้ง
อำเภอ พระนครศรีอยุธยา จังหวัด พระนครศรีอยุธยา

- วัดพระราม

วัดพระราม

วัดพระราม
มเด็จพระราเมศวรทรงสร้างขึ้นตรงบริเวณที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระรามาธิบดีที่1 (พระเจ้าอู่ทอง) พระราชบิดา วัดนี้มีบึงขนาดใหญ่อยู่หน้าวัด เมื่อมีการสร้างกรุงศรีอยุธยา คงจะมีการขุดเอาดินในหนองมาถมพื้นที่วังและวัด  พื้นที่ที่ขุดเอาดินมาได้กลายเป็นบึงใหญ่ บึงมีชื่อปรากฎในกฎมณเฑียรบาลว่า “บึงชีขัน” ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “บึงพระราม” ปัจจุบันคือ “สวนสาธารณะบึงพระราม” ซึ่งใช้เป็นที่สำหรับพักผ่อนหย่อนใจของชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และสำหรับนักท่องเที่ยวที่มาเยือน

สถานที่ตั้ง
อำเภอ พระนครศรีอยุธยา จังหวัด พระนครศรีอยุธยา

เวลาบริการ
เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 07.30–18.30 น.

- วัดพนัญเชิงวรวิหาร

วัดพนัญเชิงวรวิหาร

วัดพนัญเชิงวรวิหาร
เป็นพระอารามหลวงชั้นโทชนิดวรวิหาร แบบมหานิกาย เป็นวัดที่มีมาก่อนการสร้างกรุงศรีอยุธยา ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้าง ตามพงศาวดารเหนือกล่าวว่า พระเจ้าสายน้ำผึ้งซึ่งครองเมืองอโยธยาเป็นผู้สร้างขึ้นตรงที่พระราชทานเพลิงศพพระนางสร้อยดอกหมาก และพระราชทานนามวัดว่า “วัดพระเจ้าพระนางเชิง” หรือ “วัดพระนางเชิง”

สถานที่ตั้ง
ตั้งอยู่ที่หมู่ 2 ตำบลคลองสวนพลู อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

- วัดธรรมิกราช

วัดธรรมิกราช

วัดธรรมิกราช
เป็นวัดสงฆ์มหานิกาย เดิมชื่อวัดมุขราช เมื่อพระเจ้าสายน้ำผึ้งสร้างวัดพนัญเชิงนั้น พระราชโอรส คือ พระเจ้าธรรมิกราชโปรดให้สร้างวัดนี้ขึ้นที่บริเวณเมืองเก่าชื่อเมืองสังขบุรี ก่อนสร้างกรุงศรีอยุธยา พระมหากษัตริย์องค์ต่อมาได้ทรงบูรณะมาโดยตลอด ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงธรรม (พ.ศ. 2153) ทรงบูรณะวัดและสร้างวิหารหลวงเพื่อฟังธรรมในวันธรรมสวนะและที่วิหารหลวงแห่งนี้เคยเป็นที่ประดิษฐานของเศียรพระพุทธรูปหล่อสัมฤทธิ์ศิลปะสมัยอู่ทองปัจจุบันกรมศิลปากรนำไปไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา  สำหรับวิหารพระพุทธไสยาสน์นั้น พระราชมเหสีของพระองค์ทรงสร้างพระวิหารถวายตามคำอธิษฐานที่ขอให้พระราชธิดาทรงหายประชวร ไว้ทางหน้าประตูด้านทิศเหนือของพระเจดีย์สิงห์ล้อม 52  ตัวที่แตกต่างไปจากเจดีย์ช้างล้อม พระพุทธไสยาสน์มีความยาว 12 เมตร หันพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ ที่ฝ่าพระบาทปิดทองประดับกระจก

สถานที่ตั้ง
ตั้งอยู่ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

- วัดไชยวัฒนาราม

วัดไชยวัฒนาราม

วัดไชยวัฒนาราม
เป็นวัดที่พระเจ้าปราสาททอง กษัตริย์กรุงศรีอยุธยาองค์ที่ 24 (พ.ศ. 2173-2198) โปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2173 ได้ชื่อว่าเป็นวัดที่มีความงดงามมากแห่งหนึ่งในกรุงศรีอยุธยา  ความสำคัญอีกประการหนึ่งคือ วัดนี้เป็นที่ฝังพระศพของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์(เจ้าฟ้ากุ้ง) กวีเอกสมัยอยุธยาตอนปลายกับเจ้าฟ้าสังวาลย์ซึ่งต้องพระราชอาญาโบยจนสิ้นพระชนม์ในรัชสมัยของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ

สถานที่ตั้ง
ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกนอกเกาะเมือง

- พิพิธภัณฑ์ล้านของเล่น

พิพิธภัณฑ์ล้านของเล่น

พิพิธภัณฑ์ล้านของเล่น
จัดแสดงของเล่นมากมายหลายประเภทจากหลากหลายประเทศ ซึ่งเป็นที่ถูกใจของบรรดาเด็กๆ เป็นอย่างยิ่ง และอาจถึงขั้นทำเอาผู้ใหญ่บางคนนึกย้อนหลังไปในวัยเด็กได้เลยทีเดียว ตัวอาคารพิพิธภัณฑ์เป็นอาคารสองชั้น สูงโปร่ง โล่งสบาย เน้นให้เกิดบรรยากาศสบายๆ ในการเดินชม ลมพัดผ่านสะดวก

สถานที่ตั้ง
อำเภอ พระนครศรีอยุธยา จังหวัด พระนครศรีอยุธยา

สอบถามรายละเอียดโทร : 035 328 949